ติดต่อเรา + 02-791-6000-30 ext 3631

Hall of Fame

ดีไซน์จะช่วยสร้าง value impact ต่อเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม


มกรณ์ โดวเชาว์วาณิช

วิถีของ I.D. ใน Creative Economy หัวใจอยู่ที่การตีความคำว่า “Design Solution”

การศึกษาต้องผลักดันให้ดีไซเนอร์ทำงานด้วย Business Approach มากขึ้นครับ แม้มันจะยากและซีเรียสกว่าก็ตาม แต่นั่นคือ หนทางที่ดีไซน์จะสร้าง Value impact ต่อเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม

5313 ครั้ง
28 July 2020
แชร์

พี่มกรณ์ ศิษย์เก่า สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ (สาขาการออกแบบ ในปัจจุบัน)


ในปี 1999 “พี่มกร” ในวัย 23 ปี เป็นคนไทยคนแรกใน Philips Design การทำงานระดับอินเตอร์ต้องทำงานถึงเที่ยงคืนทุกวัน เพราะประสบการณ์น้อยที่สุดถ้าเทียบกับผู้ร่วมงานคนอื่นที่จบปริญญาโท เฉลี่ยอายุ 35 ปี

 

 

แต่ความเป็นเด็กที่สุด ทำให้เขาได้โอกาสทำงานในแผนกใหม่ของฟิลิปส์ที่ต้องการทดลองให้ดีไซเนอร์ เปลี่ยนจากดูแลสินค้าเพียงชนิดนานหลายปี ไปทำงานแบบ Multitasking เขาจึงได้เรียนรู้ทุกอย่าง บินไปทั่วโลก คุยกับโรงงาน จนถึงหาช่องทางการจัดจำหน่าย ตั้งแต่สินค้าหลอดไฟ โคมไฟ เครื่องใช้ในครัวเรือน จนถึงโทรศัพท์มือถือ และเครื่องเสียงประสบการณ์ 7 ปี ในการเป็น ”ดีไซเนอร์” ที่ ”ฟิลิปส์ ดีไซน์” หน่วยงานสำคัญของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก ทำให้ “พี่มกร เชาว์วาณิช CEO บริษัท Cerebrum Design ค้นหา Positioning มีเป้าหมายชัดเจนกับการเปิดธุรกิจที่เมืองไทยจนมีชื่อเสียงระดับหนึ่ง ออกแบบมาแล้วไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย น้ำผลไม้ ประกันชีวิต ไปจนถึงโทรศัพท์มือถือดีไซเนอร์ไม่ใช่แค่คนออกแบบสินค้าเท่านั้น แต่คือ Creative ที่นำความคิดทางการตลาดมาผสมผสาน เพื่อให้สินค้าที่ออกแบบมาไม่ใช่แค่สวย เต็มไปด้วยความหมายทางศิลปะเท่านั้น แต่คือต้อง ”ขาย” ได้ด้วย จากประสบการณ์ที่ฟิลิปส์ ทำให้เขาพบคำตอบนี้

 

 

“ฟิลิปส์เป็นที่มี Know how ด้านการทำตลาดละเอียดมาก ก่อนออกแบบสินค้าสักชิ้น ต้องมีคอนเซ็ปต์ในการคิด ตั้งแต่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร ทำตลาดได้อย่างไร Value ของผลิตภัณฑ์ ต้องเอาข้อมูลมาพิจารณาทั้งหมดก่อนออกแบบเราต้องเข้าใจว่าหน้าที่เราคือท้ายที่สุดคือสร้าง Demand ถ้าสินค้านั้นไม่ใช่นวัตกรรมมากๆ หรือสินค้าที่มีการแข่งขันสูงอย่างโทรศัพท์มือถือที่เมื่อเริ่มโปรเจกต์โทรศัพท์มือถือตัวใหม่ ก็หมายถึงงานได้ Delay แล้ว ถ้าคู่แข่งออกมาก่อน ก็หมายถึง Dead Line โทรศัพท์มือถือต้องวัดกันเป็นวัน เพราะเดิมโทรศัพท์มือถือเหมือนเป็นสินค้านวัตกรรม แต่เมื่อแข่งขันสูง และไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่แล้ว ช่วงหลังเหลือเพียง 8 เดือน และ 3 เดือนก็ถือว่าตกรุ่นแล้ว

 

 

โทรศัพท์มือถือเป็นงานดีไซน์ที่เป็นส่วนผสมของเทคโนโลยีรวมกับ Emotional Value ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถศึกษากลุ่มเป้าหมายได้ลึกแค่ไหน ถ้าทำได้ก็สร้าง Demand ได้ ซึ่งเทรนด์ของโทรศัพท์มือถือคือ สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้มาก ก็สำเร็จได้มาก

“มี Concept ชัดเจน และมี Creativity ธุรกิจถึงจะสำเร็จได้ “ เป็นประโยคที่”มกร”พูดถึงบ่อยครั้งระหว่างการสนทนากับทีมของ”POSITIONING” ที่ต้องบอกว่า C ทั้งสองตัว ไม่เพียงแต่กำลังพิสูจน์กับโมเดลธุรกิจที่ไต้หวัน และโรงงานน้ำผลไม้เท่านั้น แต่ ”มกร” ได้ทำให้เห็นขั้นหนึ่งแล้วว่า Cerebrum Design สามารถพิสูจน์ได้ว่า ”ธุรกิจที่ออกแบบ” มาอย่างมีคอนเซ็ปต์ลงตัวระหว่างกลยุทธ์การออกแบบ และกลยุทธ์การตลาด ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

 

ที่มาจาก: บทสัมภาษณ์ Positioningmag (https://positioningmag.com/10602)
และ  TCDC  (Design & Creativity tcdc.or.th)


 

แชร์