นิเทศศิลป์ไม่ได้สอนแค่วาดภาพ แต่เราสอนให้คุณออกแบบการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยการออกแบบ มีวิชาที่เรียนเกี่ยวกับสื่อสารแบรนด์ การสร้างแบรนด์ ว่าต้องคิดยังไง แล้วจะสื่อสารแบรนด์ออกมายังไงให้ตรงกับเป้าหมายของแบรนด์ ทำยังไงให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและเข้าถึงการสื่อสารแบรนด์ของเรา กิ๊ฟ - ศศิวิมล ลือรักษ์โอฬาร นักศึกษาชั้นปี 4 สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต สร้างสรรค์แบรนด์ชื่อว่า “Humate” ที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อดูเเลสุขภาพของผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลตัวเอง เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเอาใจใส่ และสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีมากขึ้นภายใต้การเรียนการสอนวิชาสื่อสารแบรนด์ (Branding communication Design) โดยโจทย์ที่ได้รับคือให้คิดสินค้าหรือบริการที่เราสนใจ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ออกมาเป็นแบรนด์หนึ่งแบรนด์ ซึ่งผลงาน “Humate” ที่ได้ทำการออกแบบเป็นแบรนด์ที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อดูเเลสุขภาพของผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลตัวเอง เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเอาใจใส่ และสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีมากขึ้น คอนเซ็ปต์ไอเดียในงานออกแบบที่ใส่ใจในเทคโนโลยีที่ช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้อย่างมีคุณภาพและมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้นโดยออกแบบให้มีความทันสมัย และมีความใส่ใจ เอาใจใส่ สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เรียนคือสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ที่สอนเกี่ยวกับการสื่อสารโดยผสมผสานข้อมูล ความคิดต่างๆ ให้ออกมาเป็นสิ่งที่เราสามารถมองเห็น งานออกแบบแบรนด์คือการที่เราต้องการสื่อสารจุดมุ่งหมาย ข้อมูล สตอรี่ ของแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ผ่าน CI, Advertising ซึ่งการใช้ สี ฟอนต์ Shape Forms ต่าง ๆ ที่ใช้ส่งผลต่อการสื่อสารทั้งนั้น ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนสาขาออกแบบนิเทศศิลป์
ผลงานออกแบบแบรนด์ดังกล่าวได้เรียนรู้และเข้าใจในการสื่อสารมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ฟอนต์ ใช้ สี หรือรูปภาพประกอบเล็กน้อยเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการรับรู้ทั้งหมด ทำให้เข้าใจถึงขั้นตอนกระบวนการคิด วิเคราะห์ว่าแบรนด์หนึ่งแบรนด์ต้องผ่านการคิดอย่างไร ต้องทำยังไงถึงจะสื่อสารให้กลุ้มเป้าหมายเข้าใจ รับรู้ และจดจำเราได้ รวมถึงการทำแบรนด์ จะต้องใช้องค์ความรู้หลายอย่างในการทำ โดยสกิลที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม คือ การ Generated Ai การ Retouch รูปภาพ การใส่ Mock up การได้ลองใช้โปรแกรมใหม่ๆ ในการออกแบบให้ออกมาตามที่ต้องการ มีทั้งใช้ได้และไม่ได้แต่ได้ลองอะไรใหม่ ๆ ซึ่งค่อนข้างเยอะมาก สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ค่อนข้างเรียนหลากหลายมากไม่ว่าจะเป็น การทำภาพประกอบ, Graphics, UX/UI, CI, Advertising, Branding, Design Thinking ทุกอย่างที่เรียนมาล้วนสามารถต่อยอดในอาชีพได้หากเราเลือกสายอาชีพใดสายอาชีพหนึ่งสามารถนำองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เรียนมานำมาใช้ร่วมด้วยได้อีกด้วย
ไตเติ้ล - อัจฉริญา สุนทรชาตะพงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต กับผลงานการออกแบบจากโจทย์ที่ได้รับจากอาจารย์ให้ออกแบบแบรนด์ที่มีความเฉพาะตัว จึงได้เลือกออกแบบทำแบรนด์ธุรกิจสปาบริการตนเองที่มีชื่อว่า “COSMO” โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพราะในปัจจุบันคนส่วนมากต้องการผ่อนคลายร่างกายจากความเครียดแต่ก็ยังต้องการความเป็นส่วนตัว จึงคิดวิธีที่จะลดการใช้มนุษย์และใช้เครื่องจักรแทน แต่ยังสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ ภายใต้วิชาว่าด้วยเรื่องของการออกแบบสื่อสารแบรนด์ หรือ Brand Communication Design ที่เรียนเกี่ยวกับการออกแบบสื่อสารแบรนด์ ทั้งวิธีการคิด วางแผน และสื่อต่างๆ ที่ใช้ในธุรกิจ เพื่อสร้างแบรนด์ให้เกิดเป้าหมายสูงสุดคือการที่แบรนด์เป็นที่ยอมรับ คอนเซ็ปต์ไอเดียในงานออกแบบเริ่มจากการค้นคว้าหาข้อมูล เกี่ยวกับแบรนด์ที่ทำก่อน เพื่อกำหนดเรื่องราวและกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นหาสไตล์ที่เหมาะสมกับแบรนด์ ซึ่งเลือกทำแบรนด์เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการผ่อนคลาย จึงออกแบบอัตลักษณ์ให้มีความทันสมัยแต่ยังเรียบง่าย เพื่อให้ผู้คนจดจำแบรนด์ได้
และด้วยสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ที่เน้นเรียนเกี่ยวกับการออกแบบด้วยภาพเพื่อสื่อสารให้ผู้คนเข้าใจ งานออกแบบนี้จึงเน้นทำให้คนรับรู้ถึงแบรนด์ได้ว่า แบรนด์เราทำอะไร มีจุดเด่นยังไง ส่วนใหญ่จะนำความรู้วิชาพื้นฐานที่ได้เรียนในชั้นปีที่ 2 มาประยุกต์ใช้ เช่น วิชาการออกแบบอัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) วิชาแบรนด์และการเล่าเรื่อง (Brand & Storytelling) วิชาการวิจัยและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และวิชาอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ งานออกแบบในวิชาการออกแบบสื่อสารแบรนด์ทำให้เข้าใจขั้นตอนของการออกแบบและการทำแบรนด์มากขึ้น ได้เรียนรู้ถึงวิธีคิดที่มากกว่าเเค่การทําเเบรนด์ การเข้าใจถึงเเก่นเเท้เเละคุณค่าของการสร้างเเบรนด์หนึ่งเเบรนด์ขึ้นมา รวมถึงการนำสกิลอื่นๆ จากการเรียนมาปรับใช้ในงานออกแบบ จากการสมมติแบรนด์ที่ไม่มีอยู่จริงขึ้นมา ทำให้การหารูปภาพที่ตรงใจเป็นเรื่องยาก จึงได้ลองฝึกการรีทัชตัดต่อรูปภาพ และเทคนิคอื่น ๆ เช่น Ai Generate เข้ามาประยุกต์ใช้ในงาน ทำให้งานสมบูรณ์มากขึ้น
สุดท้ายคิดว่าสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์เป็นสาขาที่มีความอิสระในด้านของสายงาน สามารถต่อยอดอาชีพได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านครีเอทีฟ โฆษณา กราฟิกดีไซเนอร์ UX/UI หรือการสร้างเเบรนด์เป็นของตัวเอง เพราะทางสาขามีวิชาเรียนที่ครอบคลุม ปูตั้งแต่พื้นฐานจนถึงขั้นสูง ทำให้ได้ทั้งใช้กระบวนการคิด การวางแผน และการลงมือทำชิ้นงานออกมาใช้ได้จริง